การพิมพ์บรรจุภัณฑ์เป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวนการผลิตที่ช่วยให้บรรจุภัณฑ์มีความน่าดึงดูดและสามารถสื่อสารกับผู้บริโภคได้หลายรูปแบบ ซึ่งวิธีในการพิมพ์บรรจุภัณฑ์แต่ละวิธีมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน วันนี้เรามาหาคำตอบในเรื่องนี้ไปพร้อมๆกันครับ
- Offset Printing: เหมาะสำหรับการพิมพ์จำนวนมากมีความคมชัดสูง และสามารถใช้ได้กับหลากหลายวัสดุ แต่มีต้นทุนการดำเนินการที่สูง ตัวอย่างของงานพิมพ์ที่ใช้ได้แก่ บรรจุภัณฑ์, โบรชัวร์และงานพิมพ์ที่ต้องการสีที่แม่นยำ
- Flexographic Printing: เหมาะสำหรับงานพิมพ์ที่ต้องการความยืดหยุ่นของวัสดุ มักใช้ในการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ได้หลายชนิด แม่พิมพ์มีต้นทุนราคาไม่แพง หมึกพิมพ์เป็นแบบชนิดเหลวและแห้งเร็ว สามารถควบคุมคุณภาพได้ง่ายหลังการพิมพ์
- Digital Printing: ใช้ต้นทุนต่ำสำหรับการพิมพ์จำนวนน้อย เพราะไม่ต้องทำเพลทพิมพ์ ซึ่งราคาโดยรวมจะถูกกว่า แต่คุณภาพอาจไม่เทียบเท่ากับ Offset Printing ประหยัดเวลาในการทำงานสะดวกรวดเร็ว
- Screen Printing: เหมาะสำหรับการพิมพ์ที่ต้องการลวดลายหรือเท็กซ์เจอร์เฉพาะ มักใช้ในการพิมพ์บนวัสดุที่มีพื้นผิวเฉพาะ เช่น ผ้า,พลาสติก หรือบรรจุภัณฑ์ที่มีลักษณะพิเศษต่างๆ
- Gravure Printing: ใช้สำหรับงานพิมพ์ที่ต้องการความละเอียดสูงและคุณภาพสูงมาก แต่มีต้นทุนการผลิตที่สูง สามารถพิมพ์ได้หลายสีไม่มีระยะขอบ ให้ความรวดเร็วในการพิมพ์สูง แต่มีข้อเสียอยู่บ้างก็คือ การพิมพ์ในรูปแบบนี้ จำเป็นต้องพิมพ์ในจำนวนมาก แม่พิมพ์มีราคาสูง แต่ก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในธุรกิจรายใหญ่และหลายอุตสหกรรม
- Hot Stamping: เป็นการพิมพ์เทคนิคพิเศษที่ผสมผสานการนำฟอยล์ที่มีความมันวาวไปเคลือบทับลงบนผิวกระดาษที่มีความเรียบ โดยจะใช้ความร้อนในการปั๊มแผ่นฟอยล์และทำให้บริเวณที่เราต้องการเป็นจุดเด่นอย่างตัวอักษรหรือโลโก้
การเลือกวิธีการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยรวมไปถึงประเภทของวัสดุที่ใช้ ความต้องการคุณภาพ, ปริมาณการพิมพ์ และงบประมาณที่มี การพิจารณาคุณสมบัติเหล่านี้จะช่วยให้คุณเลือกวิธีการพิมพ์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับบรรจุภัณฑ์ของคุณรวมไปถึงงบประมาณที่คุณจะต้องใช้ในการพิมพ์บรรจุภัณฑ์
อ้างอิง